ข้อมูลบริษัท
โตโยต้า มอเตอร์ เป็นบริษัทผลิตรถยนต์จากประเทศญี่ปุ่น มีฐานการผลิตที่เมืองโตโยต้า จังหวัดไอจิ ยี่ห้อรถยนต์ในเครือได้แก่ โตโยต้า, เล็กซัส(Lexus), ฮีโน่(Hino), ไดฮัตสุ(Daihatsu) โตโยต้ามอเตอร์เป็นผู้ผลิตรถยนต์อันดับหนึ่งของญี่ปุ่น และเป็นอันดับหนึ่งของโลก ซึ่งโตโยต้ามีความสามารถในการผลิตรถได้ประมาณ 8 ล้านคันต่อปี และเป็นบริษัทที่ให้กำเนิด ระบบการผลิตแบบโตโยต้า (Toyota Production System : TPS) และ วิถีแห่งโตโยต้า (Toyota Way) ที่โด่งดังไปทั่วโลก
จุดเริ่มต้น
บริษัทโตโยต้า มอเตอร์ คอร์เปอเรชั่น เริ่มก่อตั้งเมื่อเดือนกันยายน พ.ศ.2476 เมื่อบริษัทผลิตเครื่องทอผ้าโตโยดะ นำโดย คีชิโระ โตะโยะดะ ได้ทำการตั้งแผนกใหม่ในปี พ.ศ.2477 เพื่อทุ่มเทให้กับการพัฒนาเครื่องยนต์ Type A ซึ่งได้นำไปใช้ใน Model A1 ซึ่งเป็นรถยนต์นั่งคันแรกของบริษัท ในเดือนพฤษภาคม พ.ศ.2478 และรถบรรทุก G1 ในเดือนกรกฎาคมปีเดียวกัน ซึ่ง Model A1 ได้พัฒนามาผลิตเพื่อการค้าเต็มรูปแบบซึ่งคือ Model AA ในปี พ.ศ.2479
ผลการดำเนินงานของโตโยต้า
ในปี พ.ศ. 2549 โตโยต้าได้ถูกจัดลำดับโดยนิตยสาร Fortune ให้เป็นบริษัทผู้ผลิตรถยนต์อันดับสองของโลก รองจากบริษัท GM และในปี พ.ศ. 2550 โตโยต้าก็สามารถทำยอดขายทั่วโลกได้สูสีกับ GM แต่ที่น่าสนใจก็คือ ผลการดำเนินงานในเชิงกำไรของโตโยต้าเพียงบริษัทเดียว มีมากกว่า บริษัท GM รวมกับ Ford และ Chrysler ซึ่งแสดงให้เห็นว่าโตโยต้ามีผลประกอบการที่ดีมาก ซึ่งจากหนังสือ วิถีแห่งโตโยต้า ได้สรุปว่าสาเหตุที่โตโยต้าสามารถดำเนินธุรกิจได้ดีเพราะการใช้ระบบการผลิต ที่มีประสิทธิภาพ ที่คิดค้นโดยโตโยต้า ที่มีชื่อว่า ระบบการผลิตแบบโตโยต้า ที่ประกอบด้วยการดำเนินการผลิตแบบทันเวลา (Just in Time) และการดำเนินการด้านการบริหารคุณภาพ (Kaizen) ตลอดจนมีการดำเนินการตามปรัชญาที่มั่นคง (Consistant Purpose) ซึ่งถือได้ว่าเป็นการดำเนินการตามวิถีแห่งโตโยต้า (Toyota Way)
โตโยต้า ในประเทศไทย
ข้อมูลบริษัท
- ก่อตั้ง เมื่อวันที่ 5 ตุลาคม พ.ศ. 2505
- ทุนจดทะเบียน 7,520 ล้านบาท
- กำลังการผลิต โรงงานโตโยต้า สำโรง 250,000 คันต่อปี
- โรงงานโตโยต้า เกตเวย์ 200,000 คันต่อปี
- โรงงานโตโยต้า บ้านโพธิ์ 100,00 คันต่อปี
- บุคลากร 13,500 คน
- ผู้แทนจำหน่าย 119 ราย
- โชว์รูม 319 แห่ง
- ฐานการผลิต โรงงานโตโยต้าเกตเวย์ อำเภอแปลงยาว จังหวัดฉะเชิงเทรา
“จากข้อมูล ณ วันที่ 15 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2553”
ความหมายของตราสัญลักษณ์ รุ่นที่กำลังผลิตอยู่ในปัจจุบัน (ในประเทศไทย)
- 1. รถยนต์ซีดานขนาดใหญ่ โตโยต้า คัมรี่(Toyota Camry)
- 2. รถยนต์ซีดานขนาดกลาง
- ที่ผสมผสานระหว่างมอเตอร์ เครื่องยนต์สันดาบ โตโยต้า คัมรี่ ไฮบริด(Toyota Camry)
- โตโยต้า โคโรลล่า อัลติส(Toyota Corolla Altis) - 3. รถยนต์ซีดานขนาดเล็ก โตโยต้า วีออส(Toyota Vios)
- 4. รถยนต์แฮตซ์แบค 5 ประตูขนาดเล็ก โตโยต้า ยาริส(Toyota Yaris)
- 5. รถยนต์บรรทุกขนาดเล็ก โตโยต้า ไฮลักซ์ วีโก้(Toyota Hilux Vigo)
- 6. รถตู้ โตโยต้า ไฮเอซ(Toyota Hiace)
- 7. รถตู้ โตโยต้า คอมมิวเตอร์(Toyota Commuter)
- 8. รถตู้ โตโยต้า เวนจูรี่(Toyota Ventury)
- 9. รถยนต์อเนกประสงค์ MPV โตโยต้า วิช(Toyota Wish)
- 10. รถยนต์อเนกประสงค์ MPV โตโยต้า อินโนว่า(Toyota Innova)
- 11. รถยนต์อเนกประสงค์ MPV ขนาดเล็ก โตโยต้า อแวนซ่า(Toyota Avanza)
- 12. รถยนต์อเนกประสงค์ SUV โตโยต้า ฟอร์จูนเนอร์(Toyota Fortuner)
ที่มา“http://th.wikipedia.org/wiki/โตโยต้า”
เหตุการณ์สำคัญ
- พ.ศ.2499 ก่อตั้ง บริษัทโตโยต้า มอเตอร์เซลล์ จำกัด
- พ.ศ.2505 ก่อตั้ง บริษัทโตโยต้า มอเตอร์ ประเทศไทย จำกัด ด้วยทุนจดทะเบียนเริ่มแรก 11.8 ล้านบาท
- พ.ศ.2507 เปิดโรงงานประกอบรถยนต์แห่งแรก (โรงงานประกอบรถยนต์โตโยต้า สำโรง)
- พ.ศ.2516 บริษัทโตโยต้า มอเตอร์ ประเทศไทย จำกัด ฉลองครบรอบ 10 ปี เริ่มกิจกรรมเพื่อสังคม โดยมอบทุนการศึกษาแก่นิสิตนักศึกษา
- พ.ศ.2518 เปิดโรงงานประกอบรถยนต์แห่งที่สอง และสร้างโรงงานบำบัดน้ำเสีย
- พ.ศ.2525 ติดตั้งระบบ Cation E.D.P. (Electro Deposit Painting)
- พ.ศ.2527 ประกอบรถยนต์ครบ 200,000 คัน
- พ.ศ.2530 ฉลองครบรอบ 25 ปี
- พ.ศ.2533 เปิดสำนักงานใหญ่แห่งใหม่ใน โตโยต้า สำโรง คอมเพล็กซ์
- พ.ศ.2534 เปิดศูนย์อะไหล่โตโยต้าบางพลี สร้างโรงงานบำบัดน้ำเสียแห่งใหม่ และเปิดโรงงานพ่นสี รถยนต์
- พ.ศ.2535 ผลิตรถยนต์ครบ 500,000 คัน และก่อตั้งมูลนิธิโตโยต้าประเทศไทย ด้วยทุนจดทะเบียนเริ่มแรก 30 ล้านบาท
- พ.ศ.2539 ผลิตรถยนต์ครบ 1,000,000 คัน ก่อตั้งโรงงานโตโยต้าเกตเวย์ และก่อตั้งศุนย์การศึกษา และฝึกอบรมโตโยต้าสุวินทวงศ์
- พ.ศ.2540 บริษัทโตโยต้า มอเตอร์ ประเทศไทย จำกัด ได้รับประกาศนียบัตร รับรองมาตราฐาน ISO 9002 เปิดตัวรถยนต์โตโยต้า Soluna โรงงานโตโยต้า เกตเวย์ ได้รับการรับรองมาตรฐาน ISO 14001 เป็นรายแรกของอุตสาหกรรมยานยนต์ในประเทศไทย
- พ.ศ.2544 เพิ่มทุนจดทะเบียนเป็น 7,520 ล้านบาท ได้รับรางวัล แรงงานสัมพันธ์ดีเด่น และรางวัล
ประกาศนียบัตรคุณอุตสาหกรรมชมเชย “ความมุ่งมั่นสู่มาตราฐานอุตสาหกรรมดีเด่น ประเภทการรักษาสิ่งแวดล้อม” โรงงานโตโยต้า เกตเวย์ ได้รับการรับรองมาตรฐาน ISO 18001 เป็นรายแรกของอุตสาหกรรมยานยนต์ในประเทศไทย - พ.ศ.2545 - ศูนย์บริการโตโยต้า นางรอง ได้รับการรับรองมาตรฐาน ISO 14001 เป็นรายแรกของศูนย์บริการรถยนต์ในประเทศไทย
- ศูนย์อบรมและโรงเรียนเทคโนโลยียานยนต์โตโยต้า ได้รับการรับรองมาตรฐาน ISO 14001 เป็นรายแรกของศุนย์ฝึกอบรมที่เป็น Stand Alone ในประเทศไทย - พ.ศ.2547 - เริ่มการผลิตรถยนต์ภายใต้โครงการ IMV
- ประกาศโครงการ ISO 14001 Voluntary Dealers
- เปิดตัวระบบ e-CRB (Customer Relationship Building) ในเมืองไทยเป็นแห่งแรก
- เปิดตัว Toyota Academy Thailand
- ศูนย์ฝึกอบรมโดยให้ความรู้ด้านการบริหารและวิถีแบบโตโยต้าแก่พนักงานโตโยต้า
- เปิดตัวรถยนต์ คอมแพคคาร์ใหม่ Avanza
- เปิดตัวโครงการ โตโยต้า ชัวร์ ศุนย์รถใช้แล้ว คุณภาพดี
- ผลิตรถยนต์ครบ 2,000,000 คัน - พ.ศ.2548 - ประกาศลงทุนเพิ่ม 37,000 ล้านบาท เปิดโรงงานผลิตรถกระบะโครงการ IMV และขยายกำลังการผลิตรถยนต์นั่ง
- เปิด AP-GPC : Asia Pacific GLOBAL Production (Training) Center ศูนย์ฝึกอบรมการผลิต
- เปิดตัว Hilux VIGO Prerunner - พ.ศ.2549 - เปิดตัวศูนย์การเรียนรู้สไตล์ Edutainment Center ที่สยามแสควร์
- เปิดตัว Yaris…Be groovy รถยนต์นั่ง รุ่นใหม่ล่าสุด
- ร่วมจัดสวนเฉลิมพระเกียรติฯ โตโยต้าในงาน มหกรรมพืชสวนโลก เฉลิมระเกียรติ ราชพฤกษ์ 2549 - พ.ศ.2550 เปิดโรงงานโตโยต้า บ้านโพธิ์
ลักษณะการดำเนินธุรกิจของ TOYOTAวิสัยทัศน์
- 1.เป็นบริษัทแกนนำของโตโยต้า มอเตอร์ เอเชีย แปซิฟิค และเครือข่ายโตโยต้าทั่วโลก
- 2.เป็นบริษัทรถยนต์ที่ได้รับการยอมรับและยกย่องที่สุด ในประเทศไทย
หลักการ
- 1.ปรับปรุงอย่างต่อเนื่องโดยการท้าทายและเปลี่ยนแปลง
- 2.เคารพและยอมรับผู้อื่น
- 3.ยึดหลักความพึงพอใจของลูค้า
- 4.ทุ่มเทเพื่อมาตรฐานสูงสุด
- 5.รับผิดชอบต่อชุมชนและสิ่งแวดล้อม
พันธกิจ
- 1.สร้างความแข็งแกร่งในการปฏิบัติงาน และส่งเสริม ให้เกิดความร่วมมือ ระหว่างเอเชียแปซิฟิก
- 2.บรรลุการเป็นผู้นำ ในด้านความพึงพอใจของลูกค้า และในด้านสัดส่วนการตลาด
- 3.กำหนดให้ความปลอดภัยเป็นกิจกรรมที่สำคัญที่สุด ของกิจกรรมรากฐานของบริษัท
- 4. สร้างสังคมที่มีคุณภาพโดยการทำกิจกรรมที่มีคุณค่าเพื่อสังคม
โตโยต้า กับ บทบาทระดับโลก
บริษัท โตโยต้า มอเตอร์ ประเทศไทย จำกัด ได้บรรลุจุดมุ่งหมายการเป็นบริษัทแกนนำของเครือข่าย โตโยต้าทั่วโลก และเป็นบริษัทผู้ผลิตรถยนต์ที่ ได้รับการยอมรับมากที่สุดในประเทศไทย และจะเติบโตต่อไป อย่างยั่งยืนด้วยผลิตภัณฑ์และบริการมาตรฐานระดับโลก เพื่อมอบให้กับลูกค้าทั้งภายใน และต่างประเทศ ด้วยกำลัง การผลิตของบริษัท โตโยต้า มอเตอร์ ประเทศไทย จำกัด ที่สามารถผลิตรถยนต์ได้ถึงปีละกว่า 550,000 คันต่อปี โตโยต้าจึงเป็นผู้ผลิตรายใหญ่ที่สุดในประเทศไทย และยังเป็นผู้นำในระดับโลกอีกด้วย บริษัท โตโยต้า มอเตอร์ ประเทศไทย จำกัด มีความภาคภูมิใจที่ได้เป็นส่วนหนึ่งของเครือข่ายโตโยต้าทั่วโลก โดยเป็นผู้ผลิตหลักในแผนยุทธศาสตร์ จึงเป็นศูนย์กลางการผลิตรถยนต์ที่ป้อนผลิตภัณฑ์ให้กับ ตลาดประเทศไทย และส่งออกไปยังตลาดต่างประเทศทั่วโลก
เมื่อสิ้นเดือนมีนาคม 2010 โตโยต้าได้ดำเนินธุรกิจการผลิตกับ 51 บริษัท ใน 26 ประเทศทั่วโลก และรถโตโยต้ามีจำหน่ายกว่า 170 ประเทศทั่วโลก
องค์กรธรรมาภิบาล
ด้วยคำมั่นสัญญาว่าจะเติบโตอย่างต่อเนื่อง พัฒนารากฐานของโตโยต้าให้ แข็งแกร่งต่อไป เพื่อส่งมอบ การสร้างสรรค์สิ่งใหม่ๆ ไปยังทุกเขตพื้นที่รวมถึงกิจกรรมเพื่อสิ่งแวดล้อม การพัฒนาผลิตภัณฑ์เพื่อความปลอดภัย และการพัฒนาบุคลากร บริษัท โตโยต้า มอเตอร์ ประเทศไทย จำกัด และกลุ่มบริษัทโตโยต้า จะให้การสนับสนุนและมีส่วนร่วมในการพัฒนาสังคมไทยให้ดียิ่งขึ้นตลอดไป
สนับสนุนการผลิต วิจัยและพัฒนา ภายในภูมิภาค
บริษัท โตโยต้า มอเตอร์ ประเทศไทย จำกัด เป็นศูนย์กลางการสนับสนุนการผลิต การวิจัย และพัฒนาในภูมิภาค เอเชีย แปซิฟิค โดยได้รับความร่วมมือจากบริษัท โตโยต้า มอเตอร์ เอเชีย แปซิฟิค เอ็นจิเนียริ่ง แอนด์ แมนูแฟคเจอริ่ง (TMAP-EM) ด้วยความร่วมมือและการสนับสนุนนี้ทำให้มั่นใจได้ว่าลูกค้าทุกคนในภูมิภาค จะได้รับผลิตภัณฑ์และบริการภายใต้คุณภาพสูงสุดที่เท่าเทียมกัน โตโยต้ามุ่งมั่นสร้างสรรค์ผลิตภัณฑ์ที่มีความปลอดภัยและเป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม ดังนั้นรถยนต์โตโยต้า ทุกคันจะต้องผ่านมาตรฐานความปลอดภัยยุโรป และมาตรฐานการปล่อยมลภาวะ Euro III และยังมุ่งเน้นที่จะค้นคว้า พัฒนา และนำระบบพลังงานทางเลือกมาปรับใช้กับรถเช่น เอธานอล, ซีเอ็นจี, ไบโอ-ดีเซล ไฮบริด ฯลฯ “โตโยต้า มุ่งหวังที่จะเป็นผู้ที่ผลักดันให้วัฏจักรสิ่งแวดล้อมและวัฏจักรอุตสาหกรรม อยู่ร่วมกันได้อย่างกลมกลืน”
ปัจจุบัน โตโยต้าได้ประกาศที่จะ "มุ่งสู่การสร้างโลกอนาคตที่สมบูรณ์และยั่งยืน" ซึ่งเป็นสโลแกนของบัญญัติโลกทัศน์แห่งโตโยต้าเป็นเหมือนคำสัญญาจากโตโยต้า และพนักงานทุกคน ที่จะเป็นส่วนหนึ่งในการสร้างโลกใหม่ซึ่งจะนำไปสู่สังคมอุดมคติ ซึ่งการจะสำเร็จบรรลุตามเป้าหมายได้นั้น จำต้องอาศัยแรงผลักดันจากมนุษย์และความก้าวหน้าทางเทคโนโลยีร่วมกันอย่างกลมกลืน เพื่อก้าวไปสู่จุดหมายในปี พ.ศ. 2563 โตโยต้าเชื่อว่าเราควรกลับไปสู่จุดเริ่มต้นของความสัมพันธ์ระหว่างธรรมชาติ และอุตสาหกรรม โดยสิ่งที่สำคัญที่สุดคือการดำเนินไปพร้อมๆ กันของ Monozukuri (การผลิต), มนุษย์, สังคม และธรรมชาติ เพื่อทำให้วงล้อแห่งการผลิต Monozukuri ดำเนินไปพร้อมๆ กับวัฎจักรของธรรมชาติได้นั้น โตโยต้าพยายามอย่างยิ่งเพื่อหาความสมดุลแห่งการดำเนินไปด้วยกันของวัฏจักร แห่งธรรมชาติกับวัฏจักรแห่งอุตสาหกรรม โตโยต้าเชื่อมั่นว่าจะสามารถเอาชนะความท้าทายใหม่นี้เพื่อนำไปสู่ความสำเร็จได้ อย่างแน่นอนข้อมูลอ่านประกอบ :
- http://variety.eduzones.com/ (ปฏิวัติวงการรถยนต์)
วิเคราะห์ภูมิหลังและหลักการดำเนินธุรกิจ
นอกจากประวัติที่ดีแล้ว โตโยต้ายังมีการกำหนดหลักการดำเนินธุรกิจที่เด่นชัด คือ เน้นไปที่การปรับปรุงอย่างต่อเนื่องโดยการท้าทายและเปลี่ยนแปลง ล่าสุด บริษัท โตโยต้า มอเตอร์ ได้ออกมายืนยันถึงความพร้อมในการผลิตรถยนต์ใช้ก๊าซเอ็นจีวี ตามระบบรีทอร์ฟิต หรือการติดตั้งถังก๊าซเอ็นจีวีหลังรถยนต์ ได้ผ่านกระบวนการผลิตของโรงงานแล้ว
จุดนี้ถือเป็นการปรับปรุงที่ท้าทายไม่น้อยเลยทีเดียว และไม่เพียงเท่านั้น โตโยต้ายังปรับปรุงสินค้าที่มีอยู่ในปัจจุบันในมีประสิทธิภาพดียิ่งขึ้น เช่น TOYOTA NEW YARIS ที่มีการปรับเปลี่ยนใหม่ ให้ดูสปอร์ต และเร้าใจกว่าเดิม หรือ Toyota Corolla Altis ไมเนอร์เชนจ์ เวอร์ชั่นยุโรป ปี 2010 ที่มีการปรับนอกเปลี่ยนใน เพิ่มคุณภาพมากขึ้น พร้อมทั้งมีการออกแบบอะไหล่ต่างๆ ใหม่ เป็นต้น นอกจากการปรับปรุงอย่างต่อเนื่องแล้ว โตโยต้ายังให้ความสำคัญต่อการเคารพและยอมรับในตัวบุคลากรของบริษัทเอง โดยที่โตโยต้ามีการพัฒนาบุคลากรของตนเองอยู่เสมอๆ โดยยึด “วิถีแห่งโตโยต้า” (จะอธิบายในข้อหัวถัดไป) เป็นหลัก ซึ่งโตโยต้าเชื่อว่า พนักงานที่มีวิถีของโตโยต้าอยู่ในสายเลือดจะพยายามทำงานของตนด้วยความระมัดระวังและวิเคราะห์คุณภาพงานของตนตลอดเวลา โตโยต้ายังไม่ลืมที่จะยึดความพึงพอใจลูกค้าเป็นหลัก ทุ่มเทเพื่อมาตรฐานสูงสุด และยังรับผิดชอบต่อสิ่งแวดล้อม ซึ่งหลักการดังกล่าวเป็นสิ่งที่ที่โตโยต้าทั่วโลกพึงปฏิบัติ จึงเป็นเครื่องมือชี้วัดถึงศักยภาพ และความพร้อม ในการดำเนินธุรกิจ
โครงสร้างคณะบริหารของ TOYOTA ในไทย
ที่จะสื่อสารกับหัวหน้าและแต่ละแผนกในระดับเดียวกันได้ โครงสร้างลักษณะนี้ ค่อนข้างจะให้อิสระในที่จะคิดสร้างสรรค์ แต่ก็ยังต้องอยู่ในสายตา หรือภายใต้การดูแลของผู้บริหารใหญ่ นับว่าโครงสร้างคณะบริหารของ TOYOTA นั้น
เป็นโครงสร้างที่สามารถปรับเปลี่ยน ดึงประโยชน์จากความคิดสร้างสรรค์ และศักยภาพบุคลากร มาใช้ได้ตามสภาวการณ์ได้หลากหลายทีเดียว
นโยบายการบริหารของ TOYOTA ทั่วโลก
โตโยต้า มีหลักการบริหารและจัดการที่มีชื่อว่า “วิถีแห่งโตโยต้า หรือ Toyota Way” หลักการนี้เป็นอุดมคติ มาตรฐานและสัญลักษณ์นำของบุคลากรในองค์กรของโตโยต้าทั่วโลก เป็นสิ่งที่แสดงถึงความเชื่อ และคุณค่าที่ทุกคนมีอยู่ร่วมกัน วิถีโตโยต้า 2001 มีดังนี้
- อาศัยหลักการชี้นำที่กำหนดภารกิจของโตโยต้า ในฐานะของบริษัท และคุณค่าที่บริษัทมอบให้แก่ลูกค้า ผู้ถือหุ้น เพื่อนร่วมงาน หุ้นส่วนทางธุรกิจ และชุมชนโลก
- กำหนดวิธีการปฏิบัติและความประพฤติของบุคลากรของโตโยต้า
- ทำหน้าที่เสมือนระบบประสาท อัตโนมัติสำหรับองค์กรของโตโยต้า
วิถีโตโยต้า ปี 2001 ถือเป็นคัมภีร์ กำกับการทำงานของพนักงานโตโยต้าทุกคน ประกอบด้วย 2 เสาหลัก เสาหลักทั้งสองนี้ เกื้อหนุนซึ่งกันและกันตลอดเวลาคือ “ไคเซ็น หรือ การปรับปรุงอย่างต่อเนื่อง” และ “การยอมรับนับถือซึ่งกันและกัน หรือ ความเคารพในมนุษย์ (Respect for People)” ซึ่งโตโยต้าไม่เคยพึงพอใจ ไม่หยุดนิ่งอยู่กับที่ พยายามปรับปรุงธุรกิจอยู่เสมอ โดยการผลักดันความคิด เน้นการให้ความเคารพบุคลากรและเชื่อว่าความสำเร็จของธุรกิจมาจากความพยายามของทุกคนและการจัดการทีมงานอย่างดี
โตโยต้าสร้างวิสัยทัศน์ระยะยาว ชนะสิ่งท้าทายด้วยความกล้าหาญและความคิดสร้างสรรค์เพื่อทำให้ความฝันของเราเป็นจริง
- สร้างคุณค่าโดยผ่านการผลิตและส่งมอบผลิตภัณฑ์และการบริการ
- จิตใจที่ชอบการท้าทาย
- ทัศนะที่มองการณ์ไกล
- การพิจารณาอย่างถี่ถ้วนในการตัดสินใจ
การปรับปรุงอย่างต่อเนื่อง แบบ ไคเซ็น
โตโยต้าปรับปรุงการประกอบธุรกิจของเราอย่างต่อเนื่อง ผลักดันการประดิษฐ์คิดค้นสิ่งใหม่ๆ และการสร้างวิวัฒนาการใหม่ๆ
- จิตใจไคเซ็นและการคิดค้นสิ่งประดิษฐ์ ใหม่
- การสร้างระบบและโครงสร้างที่พอเหมาะ
- ส่งเสริมการเรียนรู้ขององค์กร
การปรับปรุงอย่างต่อเนื่อง แบบ เก็นจิ เก็นบุสซึ
ลงมือปฏิบัติ เก็นจิ เก็นบุสซึ....การไปยังแหล่งข้อมูล เพื่อค้นหาข้อเท็จจริง สำหรับการตัดสินใจที่ถูกต้อง สร้างมติมหาชนและบรรลุเป้าหมายอย่างรวดเร็วที่สุด
- การสร้างมติมหาชนอย่างได้ผล
- มีคำมั่นสัญญาในการบรรลุเป้าหมาย
การยอมรับนับถือ
บุคคลากรทุกคนยอมรับ นับถือซึ่งกันและกัน พยายามทุกวิถีทางเพื่อที่จะเข้าใจซึ่งกันและกัน รับผิดชอบและพยายามอย่างดีที่สุดเพื่อสร้างความไว้วางใจร่วมกัน
- ความเคารพผู้ถือหุ้น
- ความไว้วางใจร่วมกันและความรับผิดชอบร่วมกัน
- มีการติดต่อสื่อสารอย่างจริงใจ
การทำงานเป็นทีม
โตโยต้าส่งสริมความเจริญก้าวหน้าส่วน บุคคลรวมไปถึงความเจริญก้าวหน้าในวิชาชีพ การให้โอกาสทุกทุกคนได้พัฒนาตนเองเพื่อเพิ่มประสิทธิภาพ และเพิ่มผลงานของแต่ละบุคคลของทีมงานให้มีผลงานมากที่สุด
- ให้คำมั่นสัญญาด้านการศึกษาและการพัฒนา
- ความเคารพต่อแต่ละบุคคล รับรู้ถึงพลังที่มากมายเมื่อรวมกันทำงานเป็นทีม
โตโยต้านับเป็นองค์กรที่ ประสบความสำเร็จสูงสุดในอุตสาหกรรมรถยนต์ คงไม่มีผู้ใดปฏิเสธว่าความสำเร็จของโตโยต้าเป็นผลมาจากการบริหารคุณภาพในทุกๆ ปัจจัย ขั้นตอน กระบวนการและระบบทั้งภายในองค์กรของตนและเครือข่ายพันธมิตรธุรกิจ และที่สำคัญโตโยต้า ยังได้แสดงให้เห็นถึงความสามารถอัน โดดเด่นในการแปลงวิสัยทัศน์ให้เป็นรูปธรรมผ่านทุกช่องทางได้อย่างลงตัว
ที่มา : http://th.wikipedia.org/wiki/โตโยต้า และ
http://www.toyota.co.th/วิเคราะห์นโยบายการบริหาร TOYOTA ทั่วโลก
บริษัท โตโยต้า มอเตอร์มีหลักการบริหารและจัดการที่มีชื่อว่า “วิถีแห่งโตโยต้า หรือ Toyota Way” ถือเป็นคัมภีร์ กำกับการทำงานของพนักงานโตโยต้าทุกคน แสดงให้เห็นถึงประสิทธิภาพขององค์กรเป็นอย่างมาก เพราะเป็นการให้ความสำคัญในทุกๆส่วนขององค์กร ผลิตผลของบริษัทนั้นขึ้นอยู่กับพนักงานเป็นหลัก การกำกับการทำงานของพนักงานให้พนักงานไม่หยุดนิ่งอยู่กับที่ โดยการผลักดันความคิดของพนักงานให้พนักงานพยายามคิดริเริ่มสร้างสรรค์กับผลงานตลอดมา พยายามปรับปรุงธุรกิจอยู่เสมอ และโตโยต้ายังเน้นการให้ความเคารพบุคลากรกับตัวพนักงานเองให้รู้จักการเคารพมนุษย์ด้วยกัน
เชื่อในความคิดเห็นของทุกคนในทีมและให้เชื่อว่าความสำเร็จของธุรกิจมาจากความพยายามของทุกคนบวกกับการจัดการทีมงานอย่างดี การกำกับการทำงานของพนักงานจึงเป็นสิ่งสำคัญที่จะผลักดันให้พนักงานทุกคนมีความมุ่งมั่น รักองค์กร ภูมิใจกับองค์กรที่ตนอยู่ การให้โอกาสทุกๆคนได้พัฒนาตนเองเพื่อเพิ่มประสิทธิภาพ และเพิ่มผลงานของแต่ละบุคคลของทีมงานให้มีผลงานมากที่สุด ส่งผลถึงผลผลิตหรือผลงานของบริษัท โตโยต้าที่ออกมาสู่สังคมอย่างมีคุณภาพ
กลยุทธ์การตลาดและการสื่อสารการตลาดในระดับโลก (Global brand communication)
ตลาด : ตัวอย่างแผนการตลาดของบริษัทโตโยต้า มอเตอร์ ประเทศไทย จำกัด แสดงประวัติของบริษัทโตโยต้า มอเตอร์ ประเทศไทย จำกัด ได้มีบริษัทตัวแทนชื่อ โตโยต้าเซลล์ มอเตอร์ จำกัด เข้ามาเปิดกิจการในประเทศ
และต่อมาก็ได้เปลี่ยนชื่อมาเป็น บริษัทโตโยต้า ประเทศไทยจำกัด และได้ผลิตรถยนต์ที่มีคุณภาพออกสู่ตลาด มาจนถึงรถยนต์ โตโยต้า โซลูน่า ซึ่งเป็นรถยนต์นั่งที่ออกแบบมาเพื่อคนไทยโดยเฉพาะและมีราคาถูก
การวิเคราะห์ SWOT (SWOT analysis) ของรถยนต์ TOYOTA SOLUNA วิเคราะห์เมื่อกลางปี 2540
เป็นการวิเคราะห์ถึงจุดแข็ง (Strengths) จุดอ่อน (Weaknesses) โอกาส
(Opportunities) และอุปสรรค (Threats) โดยมีรายละเอียดดังนี้
1.จุดแข็ง (Strengths) เป็นจุดเด่นของรถยนต์ TOYOTA SOLUNA ซึ่งวิเคราะห์จากสิ่งแวดล้อมภายในของบริษัท โดยมีรายละเอียดดังนี้
- 1.1 เป็นรถยนต์ที่มีเครื่องยนต์ขนาด 1500 cc แต่มีราคาถูกกว่ารถยนต์ที่มีขนาดเครื่องยนต์เท่ากัน
- 1.2 มีการสร้างความน่าเชื่อถือในคุณภาพ โดยการศึกษาอย่างละเอียดจากหุ่นจำลองยานยนต์ต้นแบบ (Clay model) โดยละเอียดเพื่อใช้ในการกำหนดวิศวกรรมโครงสร้างที่ให้ประโยชน์สูงสุดในทุกตารางนิ้ว
- 1.3 เป็นยี่ห้อรถยนต์ ที่มีคนรู้จักและเชื่อมั่นในคุณภาพ
- 1.4 เป็นรถยนต์ที่มีรูปแบบที่ทันสมัย มีการพัฒนารูปลักษณ์อยู่ตลอดเวลา
- 1.5 มีศูนย์บริการอยู่ครอบคลุมทั่วทุกพื้นที่
- 1.6 วัสดุ อุปกรณ์ทุกชิ้นของ TOYOTA SOLUNA ได้ผ่านการเลือกสรรพร้อมทั้งผ่านกระบวนการผลิตด้วยเทคโนโลยีชั้นสูง (Hight technology)
2.จุดอ่อน (Weaknesses) เป็นจุดด้อยโดยวิเคราะห์จากสิ่งแวดล้อมภายในบริษัท ซึ่งมีดังนี้
- 2.1 เป็นรถยนต์ที่ให้กำลังแรงม้าต่ำ เมื่อเทียบกับเครื่องยนต์ขนาด 1500 cc ของรถยนต์ยี่ห้ออื่น ๆ
- 2.2 บริษัทไม่มี STOCK ของรถยนต์ TOYOTA SOLUNA เพียงพอกับปริมาณการสั่งจองรถยนต์
- 2.3 ผู้บริโภคไม่มั่นใจในคุณภาพของรถยนต์ตามที่โฆษณาว่าราคาไม่สูง แต่คุณภาพเท่าเดิม
- 2.4 บริษัทมีศักยภาพไม่เพียงพอในการผลิตรถยนต์เพื่อตอบสนองความต้องการของผู้บริโภค
3.โอกาส (Opportunities) เป็นข้อได้เปรียบโดยวิเคราะห์จากสิ่งแวดล้อม ภายนอก (ทั้งสิ่งแวดล้อมมหภาคและจุลภาค) ซึ่งมีดังนี้
- 3.1 แนวโน้มที่ผู้บริโภคจะใช้รถยนต์มีสูงขึ้นในภาวะปัจจุบันที่ราคารถยนต์มีราคาถูกลง
- 3.2 ภาวะที่ขนส่งมวลชนล้มเหลวทำให้มีผู้สนใจที่จะมีรถยนต์ส่วนตัวมากขึ้น
- 3.3 แนวโน้มที่ผู้บริโภคให้ความสนใจในรถยนต์ราคาถูกสำหรับครอบครัวที่มีรายได้ไม่สูงนัก
- 3.4 ส่งเสริมต่อนโยบายการประหยัดของรัฐบาล โดยการเสนอรถที่มีราคา ไม่สูง แต่คุณภาพดี
4.อุปสรรค (Threats) เป็นข้อเสียเปรียบหรือข้อจำกัดโดยวิเคราะห์จาก สิ่งแวดล้อมภายนอก (ทั้งสิ่งแวดล้อมมหภาคและจุลภาค) ซึ่งมีดังนี้
- 4.1 มีคู่แข่งขันสูงในรถยนต์ระดับมาตรฐานที่ใกล้เคียงกัน
- 4.2 การนำเข้ารถยนต์จากประเทศเกาหลีที่มีราคาถูกกว่าเข้ามาสู่ตลาดหลายตรายี่ห้อ หลายแบบ
หลายชนิด - 4.3 การนำรถยนต์ TOYOTA ไปทำเป็นรถแท็กซี่ ทำให้ชื่อเสียงและภาพลักษณ์ของTOYOTA ลดลงซึ่งอาจส่งผลกระทบต่อ SOLUNA
- 4.4 มีรถยุโรปที่มีมาตรฐานสูงอยู่มาก
การกำหนดตลาดเป้าหมายของรถ TOYOTA SOLUNA
1.ด้านประชากรศาสตร์(Demographic) กลุ่มเป้าหมายของรถโตโยต้าส่วนใหญ่ประกอบด้วย ผู้ที่มีรายได้ปานกลาง ส่วนหนึ่งมีอาชีพรับราชการ
2.ด้านภูมิศาสตร์(Geographic) ลูกค้าส่วนใหญ่อยู่ในเขตกรุงเทพมหานครและต่างจังหวัด
3.จิตวิทยา(Psychographic) โครงสร้างทางด้านจิตวิทยา ของกลุ่มเป้าหมายของรถ โตโยต้า ส่วนใหญ่มีลักษณะดังนี้
- (1) คำนึงถึงความคุ้มค่าจากการซื้อรถเพราะราคาถูก
- (2) ผู้ที่ต้องการรถยนต์ที่มีสมรรถนะและออกแบบที่ทันสมัย
- (3) ก่อให้เกิดภาพพจน์ว่าเป็นผู้ที่รักการเดินทาง
- (4) ผู้ที่มีฐานะทางสังคมระดับกลาง
4.ด้านพฤติกรรมศาสตร์ (Behavioral) กลุ่มเป้าหมายของรถโตโยต้าทางด้านพฤติกรรมศาสตร์ประกอบด้วย
- (1) กลุ่มที่มีความอ่อนไหวต่อราคาของรถยนต์
- (2) กลุ่มที่นิยมใช้รถญี่ปุ่น
- (3) กลุ่มที่นิยมรถยนต์ขนาดเล็กที่มีความคล่องตัวสูง
- (4) กลุ่มที่ต้องการ รถยนต์สำหรับครอบครัวที่มีราคาไม่สูงแต่คุณภาพดี
การกำหนดพฤติกรรมผู้บริโภคของผู้ใช้รถ TOYOTA SOLUNA
1.ลักษณะของกลุ่มเป้าหมาย(Occupants) ประกอบด้วยกลุ่มบุคคลที่มีฐานะและรายได้ปานกลาง จากลักษณะของกลุ่มเป้าหมายจะนำไปกำหนดกลยุทธ์การตลาด(Marketing strategies)
2.สิ่งที่ผู้บริโภคต้องการ(Objects) สิ่งที่ผู้บริโภคต้องการจากการซื้อรถ TOYOTA SOLUNA คือเป็นรถที่มีความทันสมัยและมีความคล่องตัวในการใช้ ข้อมูลใน ข้อนี้จะนำไปกำหนดกลยุทธ์ด้านผลิตภัณฑ์ (Product strategies)
3.วัตถุประสงค์ในการซื้อ(Objectives) ซึ่งเป็นเหตุจูงใจในการซื้อรถ TOYOTA SOLUNA คือราคาถูกแต่คุณภาพดี
ข้อมูลในข้อนี้จะนำไปกำหนดกลยุทธ์การส่งเสริมการตลาด(Promotion strategies)
4.บทบาทของกลุ่มต่าง ๆ ที่มีอิทธิพลหรือมีส่วนร่วมในการตัดสินใจซื้อ ได้แก่ กลุ่มที่มีฐานะและรายได้ระดับปานกลาง
ข้อมูลข้อนี้จะนำไปกำหนดกลยุทธ์ช่องทางการจัดจำหน่าย(Distribution channel strategies)
5.สถานที่ที่ผู้บริโภคจะไปซื้อ(Outlets) ผู้บริโภคจะซื้อรถ TOYOTA SOLUNA ที่ตัวแทนจำหน่ายและที่โชว์รูมของรถ TOYOTA ข้อมูลในข้อนี้จะนำไปกำหนดกลยุทธ์ ช่องทางการจัดจำหน่าย (Distribution channel strategies)
6.โอกาสในการซื้อ(Occasions) ผู้บริโภคจะซื้อรถ TOYOTA SOLUNA ก็ต่อเมื่อ
- (1) เมื่อรถยนต์รุ่นเก่ามีอายุการใช้งานนานแล้วหรือมีปัญหาในการใช้งานเป็นประจำ
- (2) ต้องการซื้อรถยนต์ไว้ใช้เพื่อความสะดวกในการเดินทางข้อมูลในข้อนี้จะนำไปสู่การพัฒนารถ TOYOTA SOLUNA รวมทั้งนำไปกำหนดกลยุทธ์การส่งเสริมด้านการตลาด (Promotion strategies) เช่น ส่งจดหมายพร้อมแคตตาล็อคสินค้าของรถ TOYOTA SOLUNA ไปยังกลุ่มเป้าหมายโดยตรง
7. ขั้นตอนในการตัดสินใจซื้อ (Operations) ผู้บริโภคที่เริ่มต้นจากการรับรู้ถึงประโยชน์ของการใช้รถ TOYOTA SOLUNA เพื่อความคล่องตัวและสะดวกในการเดินทางและยังมีราคาถูกแต่คุณภาพดี เกิดความต้องการและเกิดการตัดสินใจซื้อรถ TOYOTA SOLUNA ในที่สุดข้อมูลในข้อนี้จะนำไปกำหนดกลยุทธ์การส่งเสริมการตลาด (Promotion
strategies) เช่น การขายโดยใช้พนักงานขาย ซึ่งจะกระตุ้นให้ลูกค้าเกิดความต้องการและ ตัดสินใจซื้อ
ตัวอย่าง งบกำไรขาดทุนอย่างง่าย (หน่วย : บาท)
- รายได้จากการขาย (TR) 6,000,000
- ต้นทุนขาย 3,900,000
- กำไรขั้นต้น 2,100,000 ค่าใช้จ่าย
- ค่าใช้จ่ายในการดำเนินงาน 930,000
- ค่าใช้จ่ายทางการตลาด 850,000 1,780,000
- กำไรสุทธิ 320,000
การคาดคะเนเงินสดรับและเงินสดจ่าย ครั้งแรก ปีที่1 ปีที่2 ปีที่3 ปีที่4
- เงินสดรับ 60,000 120,000 160,000 180,000
- เงินสดจ่าย 150,000 40,000 70,000 100,000 100,000
- เงินสดรับ(จ่าย) สุทธิ(150,000) 20,000 50,000 60,000 80,000
ตัวอย่างกลยุทธ์ด้านผลิตภัณฑ์ของรถ TOYOTA SOLUNA
1.การกำหนดตำแหน่งผลิตภัณฑ์(Product positioning) มีความทนทาน (คุณภาพดี) และราคาประหยัด (ราคาต่ำ) TOYOTA SOLUNA มาจากสโลแกนที่บอกว่าการเดินทางที่ยิ่งใหญ่ ซึ่งสื่อให้ผู้บริโภคได้รับรู้ว่าเป็นรถที่สามารถใช้สำหรับการเดินทางท่องเที่ยวได้ทุกสภาวะท้องที่ มีความทนทาน และเหมาะสมสำหรับผู้รักการเดินทางท่องเที่ยวและราคาต่ำ
2.ความแตกต่างด้านผลิตภัณฑ์(Product differentiation) และความแตกต่างด้านราคา (Price differentiation) มีดังนี้
- (1) เป็นรถยนต์ที่ออกแบบตามหลักสรีระสัมพันธ์ สวิตช์ควบคุมต่าง ๆ จัดวางให้อยู่ในตำแหน่งที่ใช้ง่ายใกล้มือ
- (2) เสริมด้วยวัสดุขจัดเสียง รบกวนจากภายนอกรอบคัน
- (3) เครื่องยนต์ใหม่ 1500 cc ทวินแคม 16 วาล์ว ให้อัตรา เร่งตอบสนองทันใจ
- (4) ผสานระบบช่วงล่างแม็คฟอร์สันสตริทและทอร์ชั่นขึม ให้การขับขี่นุ่มนวลและควบคุมได้ทุกสภาพการณ์
- (5) มีรุ่นให้ผู้บริโภคเลือก 4 รุ่น เพื่อความเหมาะสมกับสภาพเศรษฐกิจและความชอบด้วยรถรุ่น GLI AUTO, GLI, AUTO และ XLI
- (6) SULUNA เป็นรถที่มีราคาต่ำ
3.ความแตกต่างด้านภาพลักษณ์(Image differentiation) มีดังนี้ คือ เน้นความทันสมัย ปราดเปรียว และให้ความแข็งแกร่งทนทานอย่างสมบูรณ์ เน้นภาพลักษณ์ว่ารถ TOYOTA SOLUNA เป็นยนตรกรรมที่มีคุณค่าประทับใจ
ตัวอย่างกลยุทธ์และโปรแกรมด้านราคาของรถ TOYOTA SOLUNA
- 1.รถยนต์ TOYOTA SOLUNA มีการตั้งราคา 334,000 บาท ซึ่งสอดคล้องกับกลุ่มเป้าหมายที่มีอำนาจซื้อและมีรายได้ระดับปานกลางขึ้นไป
- 2.ธุรกิจใช้การตั้งราคาให้ต่ำ เพื่อเพิ่มประโยชน์ด้านการส่งเสริมการจำหน่าย
- 3.กลุ่มลูกค้าของธุรกิจเป็นกลุ่มเป้าหมายระดับล่าง ซึ่งมีความไวต่อการเปลี่ยนแปลงราคาสูง จึงเป็นกลยุทธ์ในการตั้งราคาให้ตรงกับพฤติกรรมของกลุ่มเป้าหมาย
- 4.การตั้งราคาสินค้าที่เลือกซื้อประกอบหรือไม่ซื้อก็ได้ (Optional feature pricing) โดยมีการกำหนดรถเป็นรุ่น 4 รุ่น ซึ่งมีส่วนประกอบแตกต่างกัน ให้ผู้บริโภคเลือกที่จะซื้อ คือแต่ละรุ่นจะมีอุปกรณ์ประกอบภายในไม่เหมือนกัน ซึ่งถ้ารุ่นไหนมีส่วนประกอบภายในมาก จะมีการตั้งราคาสูงและลดหลั่นกันลงมา ทั้ง 4 รุ่น
ตัวอย่างกลยุทธ์และโปรแกรมด้านการโฆษณาของรถ TOYOTA SOLUNA
- 1.การติดต่อสื่อสาร จุดประสงค์คือ ให้ผู้รับข่าวสารเกิดความพร้อมของอารมณ์ (Mood) โดยการโฆษณาเน้นการเดินทางท่องเที่ยวในเมืองต่าง ๆ ในทวีปยุโรป (Playing mood) โดยใช้ภาพมิตรภาพของบุคคลในเมืองต่าง ๆ และใช้เสียงเพลงประกอบ
- 2.เน้นค่านิยมและรูปแบบการดำรงชีวิต (Value and lifestyle) โดยใช้สโลแกนว่า “การเดินทางที่ยิ่งใหญ่” เพื่อกระตุ้นกลุ่มเป้าหมายที่ชอบการเดินทางท่องเที่ยว และกลุ่มผู้เริ่มทำงานโดยเสนอราคาระดับต่ำ
- 3.จุดขายคือ เป็นรถยนต์สำหรับครอบครัว โดยการสนับสนุนจุดขายด้วยวิธีดังนี้ (1) การสนับสนุนด้วยข้อเท็จจริง
คือชี้ให้เห็นถึงความสะดวกในการเดินทางเพราะรถยนต์มีขนาดเล็ก แต่มีประสิทธิภาพและเครื่องยนต์สูงกว่าคู่แข่งขันตลอดจนราคาต่ำ 334,000 บาท (2) สนับสนุนด้วยชื่อเสียงของบริษัท บริษัทโตโยต้า เป็นบริษัทที่มีชื่อเสียงมีความรับผิดชอบต่อสังคมด้วยการแจกทุนการศึกษาแก่นักศึกษาในมหาวิทยาลัยต่าง ๆ เช่น มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย เป็นต้น นอกจากนี้ได้ทำกิจกรรมเพื่อสังคมอีกหลายอย่าง เช่น การเลี้ยงอาหารเด็กกำพร้า และเด็กพิการ - 4.กำหนดบุคลิกภาพของสินค้าไว้อย่างชัดเจน คือรถยนต์ขนาดเล็กแต่สามารถเดินทางในระยะไกล ๆ ได้โดยไม่ก่อให้เกิดปัญหา
- 5.การเสนอโฆษณาออกเป็นชุด โดยการออกแบบโฆษณาออกเป็นชุด ๆ ชุดที่ 1 เป็นการเริ่มต้นเดินทางจากประเทศฝรั่งเศส ชุดที่ 2 การเดินทางมาถึงประเทศมอนาโค และแสดงให้เห็นถึงความเป็นมิตรจากคนในเมือง
- 6. การโฆษณาผ่านหนังสือพิมพ์ การโฆษณาทางหนังสือพิมพ์มุ่งเน้นถึงคุณสมบัติและประสิทธิภาพในการขับเคลื่อน
ตัวอย่างกลยุทธ์และโปรแกรมการให้ข่าวและการประชาสัมพันธ์ของรถ TOYOTA SOLUNA
- 1.วันที่ 31 ธันวาคม 2539 ได้มีการแถลงข่าวเกี่ยวกับรถยนต์ ที่โรงแรมแกรนด์ ไฮแอทเอราวัณ และวันที่ 31 มกราคม - 2 กุมภาพันธ์ 2540 ได้มีการจัดงานแนะนำ รถยนต์ TOYOTA SOLUNA ที่ศูนย์ประชุมแห่งชาติสิริกิติ์ และโชว์รูมโตโยต้าทั่วประเทศ
- 2.การจัดงานแสดงสินค้าตามห้างสรรพสินค้าชั้นนำของประเทศไทย ได้แก่ ห้างสรรพสินค้าเซ็นทรัล ซีคอนสแควร์ เวิลด์เทรดเซ็นเตอร์ ฯลฯ
- 3.เอกสารแผ่นพับต่าง ๆ ที่แจกให้แก่ผู้เข้าชม TOYOTA SOLUNA ที่โชว์รูมหรือห้างสรรพสินค้า
ที่มา :
http://www.huso.buu.ac.th/ โดย smesmartการแข่งขันในตลาดโลก โดยเน้นสภาพการณ์ในปัจจุบัน
1.โตโยต้าเปิดแผน CSR รุกสร้างเครือข่ายบน Facebook
เนื้อหาข่าว นายวุฒิกร สุริยะฉันทนานนท์ ผู้ช่วยกรรมการผู้จัดการใหญ่อาวุโส บริษัท โตโยต้า มอเตอร์ ประเทศไทย จำกัด
แถลงข่าวเปิดตัวโครงการ โตโยต้า “เชื่อมต่อ สู่สังคมที่ยั่งยืน” สร้างเครือข่าย CSR ผ่านสังคมออนไลน์ ส่งเสริมการมีส่วนร่วมสร้างสรรค์สังคมไทยให้เจริญเติบโตอย่างยั่งยืน
“การรวมตัวในเครือข่ายสังคมออนไลน์ หรือ Social Networking กำลังมีบทบาทสำคัญมากขึ้นในปัจจุบัน ทั้งนี้เนื่องจากสามารถเข้าถึงกลุ่มเป้าหมายหรือสมาชิกได้โดยตรงและรวดเร็ว อีกทั้งสมาชิกยังได้มีส่วนร่วมในการนำเสนอแนวคิด หรือกิจกรรมใหม่ๆ สอดรับกับกระแสสังคมในปัจจุบัน โตโยต้ามองเห็นถึงความสำคัญในเรื่องนี้ จึงริเริ่มการเป็นศูนย์กลางในการเชื่อมต่อเครือข่าย CSR ผ่านสังคมออนไลน์ เพื่อส่งเสริมให้คนในสังคมได้มีส่วนร่วมในการทำความดีและเป็นประโยชน์แก่สังคม ซึ่งเราเชื่อมั่นว่าในทุกสังคม มีคนที่มีจิตอาสาและเจตนารมณ์ที่ดีในการร่วมมือทำกิจกรรมที่สร้างสรรค์เพื่อ สังคมอยู่เป็นจำนวนมาก”
นายวุฒิกร กล่าวเพิ่มเติมว่า “การเปิดเครือข่ายสังคมออนไลน์ในวันนี้ จะเป็นการเดินหน้าครั้งสำคัญในการขยายความร่วมมือไปสู่กลุ่มคนรุ่นใหม่ ที่ใส่ใจในการสร้างสรรค์คุณภาพชีวิตและสังคมให้ดียิ่งขึ้น” โดยผู้สนใจเข้าร่วม เป็นส่วนหนึ่ง ในสังคมออนไลน์ เพื่อร่วม ส่งเสริมสังคมไทยกับ โตโยต้าได้แล้ววันนี้ที่
www.facebook.com/ToyotaCSRที่มา : http://auto.sanook.com/
วิเคราะห์ จากเนื้อหาข่าวที่ได้นำเสนอนั้น แสดงให้เห็นการตื่นตัวของ TOYOTA กับเทคโนโลยีที่ก้าวล้ำ อย่าง Facebook โดยมีการเปิดเครือข่ายสังคมออนไลน์ ซึ่งเป็นสื่อที่คนรุ่นใหม่ ได้ให้ความสนใจ ไม่เพียงเท่านั้นองค์กรต่างๆ ในปัจจุบัน ก็ล้วนแล้วแต่มีสังคมออนไลน์ของตัวเอง เพื่อเป็นการประชาสัมพันธ์ โฆษณา หรือการพยายามมีส่วนร่วมใน Life style ของคนรุ่นใหม่ โตโยต้าก็เช่นเดียวกัน ในการแข่งขันปัจจุบัน การรวมตัวในเครือข่ายสังคมออนไลน์ จึงเป็นการติดต่อ
และตอบร้บกับกระแสสังคมได้อย่างดี
2.มูดีส์ อินเวสเตอร์ส เซอร์วิส เผยยังไม่ปรับเพิ่มอันดับความน่าเชื่อถือโตโยต้า มอเตอร์ คอร์ปจากงบการเงินปี 53 เนื่องจากมีกำไรไม่พอ
เนื้อหาข่าว นักวิเคราะห์อาวุโสของมูดีส์ กล่าวว่า โตโยต้าซึ่งมีอันดับเครดิตอยู่ที่ Aa2 ซึ่งเป็นอันดับเครดิตขั้นสูงสุดในบรรดากลุ่มผู้ผลิตรถยนต์ชั้นนำของโลก จำเป็นต้องมีผลกำไรจากการดำเนินงานอย่างน้อย 1 ล้านล้านเยน (1.1 หมื่นล้านดอลลาร์) ต่อปี ก่อนที่มูดีส์จะพิจารณายกอันดับเครดิตต่อไป อย่างไรก็ตาม นายยูสุอิไม่มั่นใจว่า ผลกำไรจากการดำเนินงานของโตโยต้าจะฟื้นตัวขึ้นอย่างต่อเนื่องหรือไม่
ทั้งนี้ มูดีส์ และสแตนดาร์ด แอนด์ พัวร์ (เอสแอนด์พี) เริ่มลดอันดับเครดิตโตโยต้าเมื่อปีที่แล้ว หลังจากโตโยต้าขาดทุนติดต่อกัน 3 ไตรมาส นอกจากนี้ นายยูสุอิกล่าวว่า การที่โตโยต้าเรียกคืนรถยนต์กว่า 8 ล้านคันทั่วโลกในปีที่แล้ว ได้สร้างความเสียหายต่อชื่อเสียงของโตโยต้า และทำให้การฟื้นตัวของผลประกอบการเป็นไปอย่างล่าช้าด้วย
โดยเมื่อเดือนเม.ย.ที่ผ่านมา มูดีส์ประกาศลดอันดับเครดิตโตโยต้าลงสู่ระดับ Aa2 จากระดับ Aa1 โดยให้แนวโน้มเป็นลบ อย่างไรก็ตาม เมื่อวันที่ 14 พ.ค.ที่ผ่านมา เอสแอนด์พีได้ถอดถอนชื่อโตโยต้าออกจาก "เครดิตพินิจ" หรือ “Credit Watch" และให้แนวโน้มมีเสถียรภาพ จากเดิมที่เป็นลบ เพราะเชื่อมั่นว่าโตโยต้าจะสามารถกลับมาทำกำไรได้มากขึ้นในอีก 2-3 ปีข้างหน้า
ที่มา :
http://www.voicetv.co.th/วิเคราะห์ จากเนื้อหาข่าว โตโยต้าที่กล่าวมาข้างต้นนั้นมีการแสดงให้เห็นเด่นชัดในเรื่องของการรักษาชื่อเสียงขององค์กรในปัจจุบันให้เสถียรหลังจากเกิดการติดลบ เนื่องจากโตโยต้ามีการขาดทุนถึง3ไตรมาสและมีการลดอันดับเครดิตด้วยเพราะทางบริษัทไม่มั่นใจว่า ผลกำไรจากการดำเนินงานของโตโยต้าจะฟื้นตัวขึ้นอย่างต่อเนื่องหรือไม่ ซึ่งมีการชะลอปรับอันดับเครดิตเพื่อป้องกันไม่ให้เกิดการเสียชื่อเสียงขององค์กรอีกและรอการเพิ่มของกำไรจากกลุ่มลูกค้าในสังคมรถยนต์เพื่อกลับไปเป็นอันดับเครดิตสูงสุดในบรรดากลุ่มผู้ผลิตรถยนต์ชั้นนำของโลกอีกครั้ง
3.Toyota ย้ำแผนเดิม เปิดตัว FT-86 ปลายปีหน้า พัฒนาไปแล้ว 50% ขายที่ 2.5 ล้านเยน
เนื้อหาข่าว ก่อนหน้านี้มีข่าวว่า Toyota ตัดสินใจเลื่อนการเปิดตัวสปอร์ทสวยจัดราคาดี(มาก) จากเดือนพฤศจิกายนปีหน้าไปเป็นปี 2013 เนื่องด้วยเหตุผลทางด้านเศรษฐกิจและความไม่ลงตัวในเรื่องดีไซน์ แต่ล่าสุดและได้รับการยืนยันจากทาง Dr. Shigeyuki Hori, Project General Manager ฝ่าย Sports Vehicle Management และ Kazuo Okino, Group manager ฝ่ายเดียวกันว่า Toyota ยังจะคงเปิดตัว FT-86 ตามกำหนดการเดิม
ข่าวดังกล่าวมาจากเว็บไซท์ 7tune.com ที่ทีมงานได้รับเชิญให้เข้าทำการสัมภาษณ์พิเศษในเรี่องนี้ โดย Toyota เผยว่า ข่าวการเลื่อนการเปิดตัว FT-86 ที่ผ่านมาเกิดจากความเข้าใจผิด บริษัทฯยังมีแผนเปิดตัวสปอร์ทสุดฮ็อตรุ่นนี้ตามกำหนดการเดิมไม่เปลี่ยนแปลง ล่าสุดรถรุ่นนี้ได้รับการพัฒนามาได้ประมาณ 50% แล้ว โดยจะมีราคาขายอยู่ที่ประมาณ 2.5 ล้านเยน ส่วนรายละเอียดอื่นๆบริษัทฯยังไม่ขอเปิดเผยในตอนนี้ Okino เผยว่า รูปลักษณ์ของ FT-86 เวอร์ชั่นผลิตจะใกล้เคียงกับรถแนวคิดตามที่เห็นในภาพประกอบมากถึงมากที่สุด แม้ว่าจะมีการปรับแก้ในบางจุดบ้าง แต่โดยรวมถือว่ารูปโฉมจะออกมาเหมือนๆกับรถแนวคิด
Toyota FT-86 เป็นรถที่มีการพัฒนาร่วมกับค่าย Subaru ใช้ขุมพลังเป็นเครื่อง Boxer 2.0 ลิตร จาก Subaru ขับเคลื่อนผ่านเกียร์ธรรมดา 6 จังหวะ ระบบเบรค ADVICS และขับเคลื่อนล้อหลัง ถ้าราคานี้ โฉมนี้ สมรรถนะประมาณนี้ น่าจะขายดีแบบระเบิดเถิดเทิงได้ไม่ยาก
ที่มา :
http://www.autospinn.com/2010/07วิเคราะห์ จากเนื้อหาข่าว ที่กล่าวมาข้างต้นนั้น แสดงถึงเทคโนโลยีที่ล้ำสมัยของโตโยต้า สมกับที่เป็นแบรนด์รถยนต์ระดับโลก นอกจากโตโยต้าจะมีการพัฒนาในเรื่องของตัวพนักงานเองแล้ว ยังพัฒนาในเรื่องของตัวผลิตภัณฑ์ให้ดียิ่งขึ้น เพื่อตอบสนองกับกลุ่มลูกค้าที่ชอบในความล้ำ ความทันสมัยของผลิตภัณฑ์ จากการให้สัมภาษณ์ในข่าวนั้น ยังเป็นการเผยแพร่ข่าวประชาสัมพันธ์ที่ตอกย้ำแผนการขององค์กร เป็นตัวทำให้ผู้บริโภคมั่นใจในตัวองค์กร และตัวสินค้า ว่าจะมีสินค้าดีๆ ออกมา อย่างการเปิดตัวรถสปอร์ทคันสวย กัยราคาที่ดี ในเดือนพฤศจิกายนปีหน้า
Toyota รถดีครับ ผมก็ชอบ
ตอบลบโปรโมชั่น โตโยต้า
Slot machines, poker games, and skill games - Dr.MCD
ตอบลบSlot machines, poker games, and 서산 출장샵 skill games from 전라북도 출장마사지 the famous Las Vegas-area 고양 출장안마 casinos like 구미 출장안마 Bellagio, Golden Nugget, and Drafthouse, all in 울산광역 출장안마 one place.
joya shoes 753z9egtov581 outdoor,INSOLES,Joya Shoe Care,walking,fashion sneaker,boots joya shoes 892e6nubfz900
ตอบลบHi There Thank you for this amazing information about TOYOTA SOLUNA If you want to know more about Toyota Car Price
ตอบลบVisit now
Hello! Thank you for sharing this fantastic information about the TOYOTA SOLUNA. If you're interested in discovering more about Hyundai car, we invite you to explore our offerings. Visit our website now for comprehensive details.
ตอบลบ